ส่วนต่างๆของต้นแก้ว
สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพันธุ์ไม้ : แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack.
ชื่อสามัญ : Orang Jessamine China Box Tree, Andaman Satinwood
รหัสพรรณไม้ : 7-57000-008-006
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : แก้วขาว แก้วขี้ไก่ แก้วพริก ตะไหลแก้ว
ลักษณะพิเศษของพืช :
ไม้พุ่ม ทรงพุ่มกระบอก สูง 0.5 เมตร พืชบก
ลักษณะทั่่วไป :
ลำต้น เหนือดินตั้งตรงเองได้ ผิวแตกเป็เส้น สีขาวเทา ไม่มียาง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงแบบสลับใบสีเขียวเข้ม กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร จำนวนใบย่อย 5-7 ใบ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1-7 เซนติเมตร ใบเป็นมัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเป็นคลื่น
ดอก ดอกช่อกระจุก ออกดอกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีเขียว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน 5 แฉก รูปกงล้อสีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเพศผู้แบน เกสรเพศเมีย 1 อัน ยอดเกสรรูปโล่ห์ รังไข่เหนือวงกลีบ มีกลิ่นหอม
ผล ผลเดี่ยว ผลสดเมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงอมส้ม รูปร่างรี
เมล็ด รูปไข่ 1-2 เมล็ด สีส้ม
ประโยชน์ :
ใบใช้ปรุงเป็นยาขับระดูและยาระบายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ เนื้อไม้ทำด้ามปากกา เครื่องดนตรี ทำซ้อด้วง ซออู้ เป็นไม้ประดับ